สร้างเว็บ
หน้าแรก
หลักสูตรอบรม
เว็บบอร์ด
รูปกิจกรรมอบรม
ข่าวสารอบรม
วิธีการชำระเงิน
ติดต่อเรา
คำค้นหา :
ประเภท :
สินค้า
บทความ
ข่าวสาร
แกลอรี่
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเมื่อ
27/02/2013
อัพเดท
29/04/2013
ผู้เข้าชม
93986
แสดงหน้า
104721
เมนู
หน้าแรก
หลักสูตรอบรม
เว็บบอร์ด
รูปกิจกรรมอบรม
ข่าวสารอบรม
วิธีการชำระเงิน
ติดต่อเรา
เว็บเพื่อนบ้าน
สินค้า
หลักสูตร Training Course
บทความ
บทความเกี่ยวกับหลักสูตร
Teamwork
ปฎิทิน
April 2025
Sun
Mon
Tue
Wed
Thu
Fri
Sat
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
รู้หรือไม่? รสชาติของเหล้าญี่ปุ่นเปลี่ยนไปตามภาชนะที่ใส่
รู้หรือไม่? รสชาติของเหล้าญี่ปุ่นเปลี่ยนไปตามภาชนะที่ใส่
อ้างอิง
อ่าน 110 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
มะนาว
นิฮนชุ (日本酒) หรือ เหล้าญี่ปุ่น เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประจำท้องถิ่นของญี่ปุ่น หมักโดยใช้ข้าว น้ำ และมีหัวเชื้อข้าวโคจิ (ข้าวมอลต์) เป็นส่วนผสมหลัก หมักออกมาจนได้รสชาติเฉพาะตัว ซึ่งรสชาตินั้นนอกจากจะขึ้นอยู่กับปริมาณและสัดส่วนของวัตถุดิบที่ใช้แล้ว ยังขึ้นอยู่กับภาชนะที่ใส่อีกด้วย แม้จะเป็นเหล้าชนิดเดียวกัน แต่หากเปลี่ยนภาชนะที่ใส่ “รสชาติ” รวมถึง “บรรยากาศ” กลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะอะไรภาชนะถึงมีผลต่อรสชาติ? และ “เหล้าญี่ปุ่น” กับ “ภาชนะ” ที่ใส่นั้นสัมพันธ์กันอย่างไร? ไปหาคำตอบพร้อมๆ กัน
3 หลักสำคัญที่มีผลต่อการลิ้มรสเหล้าญี่ปุ่น
ภาชนะที่ใช้ดื่มเหล้าญี่ปุ่นนั้นมีหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น ขวด แก้วทรงต่างๆ บ้างก็เป็นเซรามิค บ้างก็ทำมาจากแก้ว ซึ่งภาชนะเหล่านั้น มี 3 หลักสำคัญที่ส่งผลต่อรสชาติของเหล้าญี่ปุ่น ได้แก่ ปริมาณความจุ วัสดุ และรูปร่าง แต่ละอย่างจะมีเอกลักษณ์หรือจุดเด่นอย่างไร ไปดูกันเลย
โดยธรรมชาติแล้ว รสชาติเหล้าญี่ปุ่นจะเปลี่ยนไปเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปจากเดิม 5 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมินั้น สัมพันธ์กับขนาดความจุของภาชนะที่ใส่ จึงทำให้ผลต่อรสชาติ ยิ่งภาชนะที่มีความจุมาก ก็จะใช้เวลาในการดื่มนานขึ้น ทำให้อุณหภูมิของเหล้าเปลี่ยนตามไปด้วย ทำให้รสชาติของเหล้าตอนที่นำออกมาจากตู้เย็นใหม่ๆ ต่างจากที่ดื่มช่วงท้ายๆ ภาชนะจึงมีผลต่อรสชาติโดยตรง ดังนั้นหากชอบดื่มเหล้าเย็นๆ แนะนำให้ใช้ภาชนะเล็กๆ แต่ถ้าอยากเพลิดเพลินกับการเปลี่ยนแปลงของรสชาติ ก็อาจจะใช้ภาชนะที่ความจุมากขึ้น
2. วัสดุที่ใช้ทำภาชนะ
วัสดุที่นิยมนำมาทำเป็นภาชนะสำหรับดื่มเหล้าญี่ปุ่นมีหลากหลายชนิด เช่น เซรามิค แก้ว กระเบื้อง เครื่องเคลือบ ไม้ ไม้ไผ่ ดีบุก เป็นต้น ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดนั้นมีผลทำให้บรรยากาศและอารมณ์ความรู้สึกในการดื่มเปลี่ยนไปอย่างมาก
ตัวอย่างเช่น ภาชนะที่เป็นเซรามิค จะให้ความรู้สึกหนักๆ เหมาะแก่การดื่มเหล้าอุ่นๆ แต่ถ้าเป็นภาชนะที่เป็นแก้ว จะให้บรรยากาศที่ดูสดชื่น สนุกสนาน ส่วนภาชนะที่เป็นดีบุกนั้นเหมาะกับเหล้าเย็นๆ
ส่วนภาชนะชนิดอื่นๆ จะมีผลต่อรสชาติและช่วยสร้างบรรยากาศลักษณะดังนี้
แก้ว ··· โล่ง เบา
เซรามิค ··· นุ่ม กลมกล่อม
กระเบื้อง ··· สดชื่น
เครื่องเคลือบ ··· อบอุ่น
อย่างไรก็ตาม ไม่มีกฎตายตัวสำหรับการใช้ภาชนะในการดื่มเหล้าญี่ปุ่น ขึ้นอยู่กับความชอบและประสบการณ์ผู้ดื่มด้วย
3. รูปร่างของภาชนะ
รูปร่างของภาชนะในการดื่มเหล้ามีหลายแบบ ได้แก่ ทรงตรง (ストレート型), ทรงทรัมเป็ต (ラッパ型), ทรงวังกุริ (ワングリ型), ทรงสึโบมิ (ツボミ型) โดยแก้วแต่ละทรงล้วนมีผลต่อรสชาติและการสัมผัสกลิ่นจากเหล้าญี่ปุ่น
แบบ A แก้วทรงตรง (ストレート型)
แก้วทรงนี้เหมาะสำหรับการดื่มที่ต้องการความสดชื่น หากใช้แก้วทรงนี้แอลกอฮอล์จะพุ่งตรงลงคออย่างรวดเร็ว จึงเหมาะกับเหล้าที่มีรสชาติเบาๆ กลิ่นหอมอ่อนๆ
แบบ B แก้วทรงทรัมเป็ต (ラッパ型)
แก้วทรงนี้เหมาะกับการดื่มที่ต้องการเพลิดเพลินไปกับกลิ่นของเหล้าญี่ปุ่น เนื่องจากมีปากกว้าง สามารถกระจายกลิ่นได้ดี และเมื่อดื่มเหล้าจะกระจายในปากอย่างทั่วถึง เหมาะกับเหล้าญี่ปุ่นที่มีกลิ่นแรง และรสชาติอ่อนๆ
แบบ C แก้วทรงวังกุริ (ワングリ型)
แก้วทรงนี้เหมาะแก่การดื่มที่ต้องการลิ้มรสชาติของเหล้าญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ เหมาะกับเหล้าญี่ปุ่นที่มีรสชาติเข้ม และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ด้วยรูปทรงกลมของแก้วจึงสามารถลิ้มรสของเหล้าได้ยาวนาน
แบบ D แก้วทรงสึโบมิ (ツボミ型)
แก้วทรงนี้เหมาะแก่การดื่มที่ต้องการเพลิดเพลินกับเหล้าญี่ปุ่นอย่างเต็มที ด้วยรูปทรงแก้ว เมื่อดื่มจะทำให้เหล้าจะค่อยๆ เข้าไปในปากทีละนิด ทำให้สัมผัสถึงรสชาติและกลิ่นได้ดี จึงเหมาะกับเหล้าญี่ปุ่นที่มีรสชาติเข้มและกลิ่นที่ค่อนข้างแรง
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับความรู้เกี่ยวกับภาชนะในการดื่มเหล้าญี่ปุ่น ทั้งปริมาณความจุ วัสดุ รวมถึงรูปร่างของภาชนะที่ใช้ในการดื่ม สามารถทำให้รสชาติ กลิ่น รวมถึงบรรยากาศในดื่มเปลี่ยนตามไปด้วย แต่จะจริงอย่างที่ว่าไหมนั้น เริ่มชักอยากจะลองดื่มโดยใช้แก้วและภาชนะหลายๆ แบบเปรียบเทียบดูเหมือนกัน
สรุปเนื้อหาจาก :
slotxo
มะนาว
Janthima6582@gmail.com [193.37.33.xxx] เมื่อ 9/06/2020 10:35
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ :
บุคคลทั่วไป
สมาชิก
เจ้าของเว็บ
รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
หน้าแรก
ติดต่อเรา